เมนู

[แก้อรรถบทภาชนีย์ว่าด้วยอติเรกจีวรล่าง 10 วันเป็นต้น ]


ข้อว่า ทสาหาติกฺกนฺเต อติกฺกนฺตสญฺญี ได้แก่ ผู้มีความสำคัญใน
จีวรที่ล่วง 10 วันแล้วอย่างนี้ว่า จีวรนี้ล่วง (10 วัน) แล้ว. อีกอย่างหนึ่ง
ความว่า เมื่อ 10 วันล่วงแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า 10 วันล่วงไป
แล้ว.
ข้อว่า นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ มีความว่า ความสำคัญที่กล่าวไว้ใน
บทว่า อติกฺกนฺตสญฺญี นี้คุ้มอาบัติไม่ได้, ถึงภิกษุใดจะมีความสำคัญ
อย่างนี้, จีวรนั้น ของภิกษุแม้นั้น ก็เป็นนิสสัคคีย์ และภิกษุนั้น ก็ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์ด้วย, หรือเป็นปาจิตตีย์ มีการเสียสละเป็นวินัยกรรม;
เพราะฉะนั้น อรรถวิกัปทั้ง 2 ย่อมถูกต้อง. ทุก ๆ บทก็มีนัยเช่นนี้.
ข้อว่า อวิสฺสชฺชิเต วิสฺสชฺชิตสญฺญี ได้แก่ ผู้มีความสำคัญใน
จีวรที่ตนไม่ได้ให้ คือ ไม่ได้สละให้แก่ใคร ๆ อย่างนี้ว่า เราสละแล้ว.
ข้อว่า อนฏฺเฐ นฏฺฐสญฺญ มีความว่า โจรทั้งหลาย ย่อมลักเอา
ซึ่งจีวรเป็นอันมากของภิกษุเหล่าอื่น ที่เก็บรวมไว้กับจีวรของตน, บรรดา
ภิกษุเหล่านั้น. ภิกษุรูปนี้ เป็นผู้มีความสำคัญในจีวรของตนซึ่งไม่ได้หาย
ไป ว่าหายแล้ว. แม้ในจีวรที่ไม่ได้เสียหายเป็นต้น ก็มีนัยเช่นนี้
ก็ในบทว่า อวิลุตฺเต นี้ พึงทราบสันนิษฐานว่า ในจีวรที่มิได้ถูก
ชิงไป ด้วยอำนาจที่พังห้องแล้วข่มขู่ชิงเอาไป.
ข้อว่า อนิสฺสชฺชิตฺวา ปริภุญฺชติ อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส มีความว่า
ภิกษุไม่เปลื้องจีวรที่นุ่งครั้งเดียว หรือห่มครั้งเดียวออกจากกายแล้วเที่ยว
ไป แม้ตลอดวัน เป็นอาบัติตัวเดียวเท่านั้น. ภิกษุเปลื้องออกแล้วนุ่ง
หรือห่มจีวรที่ยังไม่สละนั้น เป็นทุกกฏ ทุก ๆ ประโยค. จัดจีวรที่นุ่งไม่

เรียบร้อย หรือห่มไม่เรียบร้อย ให้เรียบร้อย ไม่เป็นอาบัติ. ไม่เป็น
อาบัติแก่ภิกษุผู้ใช้สอยของภิกษุอื่น. ก็คำมีอาทิว่า ภิกษุได้จีวรที่ผู้อื่น
กระทำแล้วใช้สอย ดังนี้ เป็นเครื่องสาธกในความไม่เป็นอาบัตินี้. ทรง
หมายเอาการใช้สอย ปรับเป็นอาบัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้มีความสำคัญในจีวร
ยังไม่ล่วง (10 วัน) ว่าล่วงแล้ว และภิกษุผู้มีความสงสัย.

[ว่าด้วยขนาดจีวรที่ควรอธิฐานและวิกัป]


ก็ในข้อว่า อนาปตฺติ อนฺโตทสาหํ อธิฏฺเฐติ วิกปฺเปติ นี้ ผู้ศึกษา
พึงทราบจีวรที่ควรอธิษฐาน และที่ควรวิกัป. ในจีวรที่ควรอธิษฐานและ
วิกปะนั้น มีพระบาลีดังต่อไปนี้:-
ครั้งนั้นแล ภิกษุทั้งหลายได้มีความรำพึงอย่างนี้ว่า จีวรทั้งหลาย
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตไว้ คือ ไตรจีวรก็ดี คือ วัสสิกสาฎก
ก็ดี คือ นิสีทนะก็ดี คือ ปัจจัตถรณะก็ดี คือ กัณฑุปฏิจฉาทิก็ดี คือ
มุขปุญฉนโจลกะก็ดี คือ ปริขารโจลกะก็ดี ควรอธิษฐานทั้งหมดหรือว่า
ควรจะวิกัปหนอแล*. ภิกษุทั้งหลายได้กราบทูลเรื่องนี้ แด่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตว่า ภิกษุทั้งหลาย ! เราอนุญาต
ให้อธิษฐานไตรจีวร ไม่อนุญาตให้วิกัป, ให้อธิษฐานวัสสิกสาฎก ตลอด
4 เดือนแห่งฤดูฝน พ้นจากพ 4 เดือนฤดูฝนนั้น อนุญาตให้วิกัปไว้,
อนุญาตให้อธิษฐานนิสีทนะ ไม่ใช่ให้วิกัป, อนุญาตให้อธิษฐานผ้าปูนอน
ไม่ใช่ให้วิกัป, อนุญาตให้อธิษฐานกัณฑุปฏิจฉาทิ (ผ้าปิดแผล) ชั่วเวลา
อาพาธ พ้นจากกาลอาพาธนั้น อนุญาตให้วิกัป อนุญาตให้อธิษฐาน
* วิ. มหา. 5/218.